competency

Competency และการพัฒนาองค์กร

Human resources หรือ HR คืองานพัฒนาบุคลากรมีบทบาทในการจัดการพนักงานในองค์กรและพัฒนาขีดความสามารถของเหล่าบุคลากร เพื่อสร้างผลงานและเสริมประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีในองค์กร และพัฒนาขีดความสามารถของตัวบุคคลเพื่อการทำงานร่วมกันภายในองค์กร โดยมีนโยบายขององค์เป็นบรรทัดฐานในการพัฒนาตัวบุคคล รวมถึงผลการปฏิบัติงาน โดยพัฒนาตัวบุคคลตั้งแต่ตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคน รวมถึงความรับผิดชอบของงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละประเภท ให้บรรลุถึงงาน ขั้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการพัฒนาองค์กรต่อไป

แนวคิด Competency ที่นำมาให้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

competency

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการบริหารองค์กรในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดในเรื่องของ Competency มาใช้ในการพัฒนาองค์กรกันอย่างกว้างขวาง โดยแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประเมินผลการทำงานของบุคลากร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาถึงตัวบุคคลได้อย่างตรงความต้องการมากที่สุด และตรงตามตำแหน่งที่องค์กรต้องการเพื่อพัฒนามากที่สุด โดยในบทความนี้จะมีการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ Competency หลักการโดยรวมที่สามารถนำไปปรับใช้งานได้กับทุกองค์กร

โดยคำนิยามของหลักการนี้ ถูกระบุไว้ว่าเป็นบุคลิกที่อยู่ภายใน ในรูปแบบปัจเจกบุคคล จะที่จะช่วยผลักดันให้ความเป็นตัวของตัวเองเหล่านั้นสามารถสร้างงานและผลการปฏิบัติงานที่ดีได้ตามเป้าหมายขององค์กรที่กำหนด โดยรวมแล้วสามารถสรุปความหมายของคำนี้ได้ว่าการมีทักษะหรือความสามารถรวมถึงความรู้ในรูปแบบของลักษณะเฉพาะตัวมีผลต่อการประพฤติและพฤติกรรมที่จำเป็นต่อบุคคลเหล่านั้นในการปฏิบัติงานและความชอบของตนเองและมีการพัฒนาเพื่อให้ผลดีที่สุด

ประเภทของ Competency

1. ความสามารถหลัก

ความสามารถจากนั้นจะถูกกำหนดโดยวิสัยทัศน์และเป้าหมายหลักรวมถึงกลยุทธ์ของทางองค์กรเป็นผู้จัดตั้งเองโดยตัวบุคคลจะแสดงสะท้อนให้เห็นถึงทักษะความรู้ทัศนคติรวมถึงอุปนิสัยของคนในองค์กรโดยรวม เป็นตัวช่วยบริหารทั้งในด้านพฤติกรรมและการบริการของตัวบุคลากรและเพื่อรู้ถึงขีดความสามารถรวมถึงลักษณะของการใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องของตัวบุคคลว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือว่า มีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะตัวเองเพื่อให้เป็นเลิศในการทำงานเป็นต้น

2. ความสามารถในการบริหาร

ความสามารถในด้านนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรโดยตรงการบริหารก็คือเพื่อใช้ความรู้และความสามารถในการจัดการตามบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบเพื่อให้ผลงานนั้นประสบความสำเร็จโดยผู้ที่สามารถจัดการได้ก็คือผู้ที่มีความสามารถสูงในการติดต่อสื่อสารรวมถึงการตัดสินใจที่เฉียบขาดและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในภาวะของผู้นำได้ดี

3. ความสามารถตามหน้าที่

จะเป็นคุณลักษณะเฉพาะของงานที่ตัวบุคคลสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมและทักษะของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่ได้รับมอบหมายไม่ว่าคนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่นี้ต้องมีความสามารถเหมือนกันหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าก็ต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับการบริหารและจัดการวิศวกรไฟฟ้าหรือ หากเป็นนักบัญชีก็ต้องรู้วิธีการจัดการทางบัญชี เป็นต้น

4. ความสามารถส่วนบุคคล

ในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็นแรงจูงใจสำหรับตัวบุคคลที่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลกระทบในทัศนคติต่อการทำงานไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจรวมถึง ทัศนคติส่วนบุคคลที่จะช่วยให้องค์กรพัฒนาไปข้างหน้าหรือหากตัวบุคคลไม่ได้มีความสนใจและไม่มีแรงจูงใจเป็นพิเศษก็อาจจะเกิดการที่ทำให้ตัวองค์กรที่ย่ำอยู่ที่เดิม

บทสรุปการนำหลัก Competency ไปใช้ในองค์กรเพื่อพัฒนาบุคลากรรูปแบบของปัจเจกบุคคล

หลักการนี้โดยรวมแล้วจะขึ้นอยู่กับภาระและหน้าที่ในการงานของแต่ละส่วนว่ามีอะไรบ้างและตัวผู้ได้รับผิดชอบนั้นมีความเข้าใจและชัดเจนตรงกับที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาหรือไม่และผู้ที่ปฏิบัติงานสามารถทำให้เกิดการพัฒนางานไปในแนวทางที่องค์กรกำหนดภายใต้ความประสงค์และของขีดความสามารถขององค์กรและของตัวผู้ได้รับมอบหมายงานเอง การมีส่วนร่วมของพนักงานรวมถึงตัว HR ที่มีความเข้าใจในตัวของบุคลากรแต่ละคนจะสามารถสร้างกรรมยอมรับหรือต่อต้านเข้ามาในหน่วยงานได้

อย่างไรก็ตามการฝึกอบรมพนักงานจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ที่ตรงจุดและมีความสามารถในการรวบรวมผู้ปฏิบัติงานให้มีเป้าหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเอื้อต่อแนวคิดหลักขององค์กรต่อไป เพราะฉะนั้นแนวคิดของ Competency จำเป็นต้องมีการนำ ไปปรับใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะและโครงสร้างขององค์กร